วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


เนื้อหา บทที่ 13
การเขียนนิยายและนวนิยาย

นิยาย หมายถึง เรื่องเล่าจากจินตนาการ เหตุการณ์ และเนื้อเรื่อง แตกต่างกับเรื่องจริง โดยครอบคลุมเรื่องแต่งทั้งหมด นิยายแบบตะวันตก ที่มีบทสนทนา และนิยมแต่งกันในช่วงหลังมักเรียกกันว่า นวนิยาย

นวนิยาย นวนิยาย เป็นงานเขียนร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือ นิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก



องค์ประกอบของนวนิยาย

1. โครงเรื่อง


คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเหตุผลต่อกัน โดยมีความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ทาให้เรื่องดาเนินไปอย่างน่าสนใจและน่าติดตาม



โครงสร้างทั้งหมดเป็นไปตามลาดับคือเหตุการณ์ที่หนึ่งได้เกิดขึ้น ตามมาด้วยเหตุการณ์ที่สอง สาม และต่อ ๆ ไปตามลาดับ แต่ก็มีนวนิยายหลายเรื่องที่เล่าแบบใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อนหลัง (flashback) ซึ่งเป็นพล็อตเหตุการณ์ที่เกิดในตอนต้น ถูกนาเข้าไปแทรกในเหตุการณ์ปัจจุบันของเรื่อง

ความขัดแย้งในเรื่อง (Conflict) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความขัดแย้งของตัวละครในเรื่อง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อย่าง



1. ขัดแย้งระหว่างตัวละครกับตัวละคร (person against person)

2. ตัวละครขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมหรือสังคม (person against environment or society) เช่น การตาย การได้รับอุบัติเหตุ การมีแม่เลี้ยง การอยู่ในสลัม ฯลฯ

3. ตัวละครขัดแย้งภายในจิตใจของตัวเอง (person against himself or herself) ความขัดแย้งในใจบางครั้งก็เกี่ยวข้องกับศีลธรรมในใจ เช่น ความอิจฉาริษยา การสูญเสียชื่อเสียง ความทะเยอทะยาน ความโลภ ฯลฯ

2. ตัวละคร

ตัวละครเอก( protagonist) จะเป็นศูนย์กลางของพล็อตเรื่องที่นักเขียนจะใช้เป็นตัวร้อยเรื่องราวต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นแก่นของเรื่อง



 ตัวละครร้าย(antagonist) จะเป็นตัวละครหรือเป็นสิ่งที่ขู่เข็ญในความขัดแย้งกับตัวละครเอกตัวละครในเรื่องอาจจะเป็นทั้ง

 ตัวประกอบอื่นๆที่เอาเข้ามาไว้ในเรื่องเพื่อให้เรื่องดูเหมือนจริง

การสร้างบุคลิกของตัวละคร(Character) มีลักษณะดังนี้

1. แบบง่ายแบบที่ไม่แสดงความซับซ้อนของบุคลิกตัวละครเป็นเพียงทัศนะหนึ่งหรือบุคลิกหนึ่งที่แสดงออกมาเป็นแบบที่คุ้นเคยอยู่ทั่วไปจนเป็นสูตรสาเร็จมักจะพบในนิทานสอนใจเช่นเจ้าหญิงแสนสวยและดีขุนนางที่โหดร้ายเราเรียกตัวละครแบบนี้ว่าลักษณะตัวละครแบนราบ(flat character)

2. แบบซับซ้อนหรือเรียกว่าตัวละครแบบกลม(round character) ลักษณะตัวละครแบบนี้จะสมจริงเพราะในชีวิตจริงคนเราไม่ได้มีบุคลิกหรือทัศนะเพียงด้านเดียวซึ่งสามารถทาให้ผู้อ่านเข้าใจและรู้สึกร่วมได้ง่ายเพราะเหมือนชีวิตจริง



วิธีการพรรณนาลักษณะตัวละครได้3 วิธี

1. นักเขียนบอกกับผู้อ่านโดยตรงเกี่ยวกับลักษณะของตัวละครนั้นๆและอาจแสดงความเห็นส่วนตัวเข้าไว้ด้วย

2. นักเขียนจะเผยลักษณะของตัวละครโดยตัวละครเองจากคาพูดหรือการกระทา

3. พรรณนาด้วยเนื้อหาคาพูดที่ล้อมรอบตัวละครอยู่

3. ฉากเวลาและสถานที่ในนวนิยายจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงหรือสิ่งที่จินตนาการขึ้นเองก็ได้หรือจะเป็นทั้งสองอย่างรวมกันมีความสาคัญและมีความสัมพันธ์ต่อตัวละครพล็อตเรื่องและบรรยากาศในเรื่อง



การเปิดเผยฉากสถานที่และเวลาโดยมากจะเป็นการบรรยายให้เห็นโดยตรงจากคนเขียนแต่ก็มีเหมือนกันที่จะแสดงให้เห็นโดยผ่านการกระทาการพูดหรือการคิดของตัวละคร

4. Point of View : มุมมอง




ใครเป็นผู้เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราวนั้นๆในเรื่องมุมมองแบ่งเป็น2 อย่าง

1. มุมมองแบบถ้วนทั่วเป็นมุมมองจากผู้เล่าที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างและสามารถรู้ไปถึงจิตใจของตัวละครและสามารถบอกเล่าถึงสิ่งที่ตัวละครคิดวิธีนี้ในการเล่าเรื่องก็จะเป็นมุมมองจากบุคคลที่3 เป็นเสียงเล่าที่เกิดเมื่อคนเล่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องเช่นเธอเดินข้ามถนนหรือวนิดาเดินข้ามถนน

2. มุมมองแบบจากัดการใช้วิธีนี้เล่าเรื่องจาเป็นต้องใช้ศิลปะไม่น้อยผู้เขียนจะต้องพยายามจากัดตัวเองให้อยู่ในกรอบของปุถุชนคนธรรมดาไม่ล้าเส้นของความสมจริงการเล่าเรื่องด้วยมุมมองแบบนี้จะไม่ใช้ผู้รู้ทุกอย่างผู้เล่าอาจจะเป็นบุคคลที่1 เล่าเรื่องโดยใช้คาว่าฉันข้าพเจ้าพวกเราซึ่งเป็นตัวละครที่เล่าเรื่องที่ตัวเองอยู่ร่วมด้วยให้ฟังอาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวพันถึงตัวเองโดยตรงซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวเอกในเรื่องเช่น“ ฉันเดินข้ามถนน”



5. Theme : แก่นเรื่องใจความสาคัญของเรื่อง

เป็นความคิดรวบยอดที่เหลือไว้หลังจากที่อ่านจนจบเรื่องเหมือนคาตอบของคาถาม“คุณได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้” ซึ่งในเรื่องเดียวกันคนอ่านอาจจะรับรู้ได้ไม่เหมือนกันเพราะการตีค่าที่มาจากการนาเสนอเรื่องของนักเขียนแล้วยังขึ้นกับระดับความรู้การรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกของคนอ่านด้วยซึ่งมันอาจไม่ตรงกับที่นักเขียนต้องการจะนาเสนอก็ได้และเป็นเรื่องที่คนอ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้



 หากนักเขียนไม่มีแก่นเรื่องหรือธีมเป็นแกนกลางของความคิดของเรื่องที่จะให้เกิดขึ้นแล้วเรื่องที่จะเล่าก็จะสะเปะสะปะขาดทิศทางหรือความเป็นหนึ่งเดียวของเรื่อง


ความแตกต่างระหว่างนวนิยายกับเรื่องสั้นนวนิยาย เรื่องสั้น
- โครงเรื่องแสดงวัตถุประสงค์หลายอย่างและผลอาจมีหลายอย่าง
- โครงเรื่องซับซ้อนมีโครงเรื่องย่อยๆในแกนโครงเรื่องใหญ่
- มีขนาดยาวกว่าเรื่องสั้น
- มีตัวละครมากซึ่งมีส่วนสาคัญต่อโครงเรื่อง
- มีเวลาต่อเนื่องยาวนานไม่จากัด
- พรรณนามากมายอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสม
 
- มีโครงเรื่องแสดงวัตถุประสงค์และผลอย่างเดียว
- โครงเรื่องไม่ซับซ้อนมีแกนเดียว
- มีขนาดสั้น
- มีตัวละครน้อย
- มีระยะเวลาในเรื่องน้อย
- เขียนกระชับประหยัดถ้อยคาไม่พรรณนาฟุ่มเฟือย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น