วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


 เนื้อหา บทที่ 14
การเขียนเพื่อการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์



รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์

รูปแบบการนาเสนอมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่นิยมนามาใช้จัดรายการทางวิทยุโทรทัศน์มี 5 รูปแบบ คือ

1. แบบบรรยาย การเสนอมีลักษณะคล้ายกับการบรรยายของครูหน้าชั้นเรียน ถ้าผู้บรรยายไม่มีเทคนิคที่ดีในการบรรยายก็จะทาให้รายการไม่น่าสนใจ ซึ่งอาจทาให้น่าสนใจขึ้นด้วยการนาสื่อการเรียนการสอนแบบแปลกๆใหม่ๆเข้ามาช่วย

2. แบบอภิปราย วิธีการนาเสนอมีลักษณะคล้ายกับวีการบรรยาย จะต่างกันตรงมีผู้บรรยายหลายคนบรรยายเป็นช่วงสั้นๆตามประเด็นคาถามที่ผู้อภิปรายตั้งขึ้น อาจมีการถามโต้ตอบกันบ้าง สนทนากันบ้าง

3. แบบสัมภาษณ์ ผู้ผลิตรายการต้องวางแผนสัมภาษณ์ให้ดี ตั้งคาถามให้ตรงเป้า และเลือกแต่เรื่องที่น่าสนใจ ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการไม่สูงนัก รายการประเภทนี้สามารถใช้ได้ดีกับเนื้อหาแทบทุกประเภทแต่ว่ารายการแบบนี้ผลิตให้ดีได้ยากกว่า รายการข้อ 1,2

4. แบบบรรยายภาพ ใช้เวลาในการถ่ายทามากกว่าถ่ายทาในสตูดิโอ 5-6 เท่า เสียค่าใช้จ่ายสูง มีลักษณะเป็นการบรรยายภาพโดยไม่ปรากฏตัวผู้บรรยาย ภาพและเสียงที่บรรยายต้องสัมพันธ์กัน ส่วนใหญ่ใช้วิธีตัดต่อและผสมภาพให้เสร็จแล้วจึงบันทึกเสียงบรรยายภายหลัง

5. แบบนาฏการ หรือแบบแสดงบทบาท การนาเสนอแบบนี้เป็นแบบที่ดึงดูดความสนใจได้ดีที่สุด อาจใช้วิธีการผูกเรื่อง แสดงสถานการณ์จาลองสั้นๆ รายการประเภทนี้ถ่ายทายากที่สุด ต้องมีการวางแผนเขียนบท จัดเวที ฉาก ให้ดูสมจริง อีกทั้งตัวผู้แสดงก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับบทบาท

รูปแบบนาเสนอที่กล่าวมาแต่ละแบบมีความเหมาะสมกับเนื้อหาแตกต่างกัน การนาเสนอในเรื่องหนึ่งๆอาจจะใช้วิธีการนาเสนอได้หลายแบบ

การเขียนบทวิทยุโทรทัศน์

วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่ให้การสื่อสารด้วยภาพและเสียงจึงถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่นาไปใช้พิจารณาในการเขียนบทรายการวิทยุโทรทัศน์ผู้เขียนบทมีความจาเป็นที่จะต้องทาความเข้าใจองค์ประกอบทั้งสองนี้ให้ดีเสียก่อนจึงเริ่มต้นเขียนบท

การเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ควรปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังนี้คือ



1. รวบรวมเอกสารตาราและวัสดุที่เกี่ยวข้องกับรายการ

2. คัดเลือกเนื้อหาได้จากเอกสารตาราและวัสดุที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายการ

3. เขียนบทดาเนินเรื่องจัดเรียงเนื้อหาตามลาดับการนาเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชมและจุดมุ่งหมาย

ข้อแนะนาในการเขียนบท



1. ควรเขียนบทให้ง่ายๆอย่าเขียนซับซ้อนเกินไปข้อความรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ควรให้การสื่อความหมายที่ชัดเจน

2. ผู้เขียนบทต้องระลึกถึงจุดมุ่งหมายของรายการตลอดเวลา

3. คาบรรยายควรเขียนแบบการสนทนาไม่ใช่แบบเขียนนวนิยาย

4. ภาพเนื้อหาที่แสดงควรปรากฏบนจอนานพอที่ผู้ชมสามารถศึกษาเนื้อหานั้นได้อย่างเข้าใจและถ้าเป็นภาพหรือข้อความที่ให้ผู้ชมคิดจะต้องให้เวลาพอที่จะคิดได้

 

5. ภาพและคาบรรยายต้องให้สัมพันธ์กัน

6. ภาษาในการบรรยายควรเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้ชม

ประเภทของบทวิทยุโทรทัศน์

1. บทแบบสมบูรณ์(Fully-Scripted show) เป็นบทอย่างละเอียดบอกทุกคาพูดทุกคาพูดในการแสดงตามที่บ่งไว้ในส่วนของภาพและเสียงบทแบบนี้มักนิยมใช้ในรายการประเภทละครการแสดงตลกรายการข่าว



ข้อดีคือสามารถมองเห็นภาพรายการได้ดีก่อนที่จะมีการถ่ายทาและจะได้เตรียมตัวให้พร้อม

ข้อเสียคือการถ่ายทาขาดความยืดหยุ่นจากการที่มีข้อกาหนดทุกขั้นตอนถ้าฝาายใดฝาายหนึ่งไม่พร้อมหรือมีสิ่งผิดพลาดก็ต้องแก้ไขซึ่งอาจนาสู่ภาวะเครียดได้

2. บทแบบย่อ(Semi-Scripted show) แตกต่างจากบทแบสมบูรณ์ตรงที่ข้อความที่พูดจะบอกไว้แบบหลวมๆผู้แสดงไม่จาเป้นต้องพูดตามบททุกอย่างจะบอกไว้เพียงว่าใครพูดเรื่องรายละเอียดของเรื่องที่พูดจะไม่มีไว้ให้วิธีการเขียนบทลักษณะนี้เหมาะสาหรับรายการอภิปรายสนทนาสัมภาษณ์และรายการประเภทที่ต้องให้ผู้แสดงเพิ่มเติมรายละเอียดเองส่วนสาคัญของการเขียนบทแบบนี้คือการพูดให้คิวแก่ผู้กากับได้ทราบว่าเมื่อถือตอนนี้ต้องฉายสไลด์หรือถ่ายอะไร

3. บทลาดับรายการ(show format) เป็นการเขียนแบบง่ายๆจะมีเพียงหัวข้อรายการตามลาดับเวลาโดยจะบอกระยะเวลาของช้อทนั้นและจานวนเวลาที่ใช้บทชนิดนี้ใช้สาหรับรายการที่มีการจัดอยู่เป็นประจาเช่นรายการเกมโชว์รายการคอนเสิร์ตเป็นต้น

4. บทข้อมูลรายการ(Fact Sheet) เป็นบทที่มีลักษณะเป็นการบอกรายการสิ่งที่จะถ่ายและบอกคาบรรยายคร่าวๆบทแบบนี้ยังนาไปใช้ในการถ่ายทารายการไม่ได้ผู้กากับต้องนามาเป็นบทแบบลาดับรายการเสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าจะกากับอย่างไรผู้แสดงต้องทาอะไรบทแบบนี้จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเช่นต้องถ่ายทาเกี่ยวกับอะไรเน้นตรงไหนมีเนื้อหาการบรรยายว่าอย่างไร



การเขียนบทละครโทรทัศน์

ละครคือศิลปะการแสดงที่สร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ให้กับมนุษย์มนุษย์กลุ่มแรกคือผู้แสดงส่วนกลุ่มหลังคือผู้ชมซึ่งได้มาอยู่รวมกันในเวลาเดียวกันณสถานที่เดียวกันซึ่งหมายถึงสถานที่จัดแสดงไม่ว่าจะเป็นบนเวทีละครหรือที่ใดๆโดยเรื่องราวที่แสดงนั้นมักจะมีแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ผู้ชมได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ตนเองเคยมีกับประสบการณ์ในละครโดยการฟังรับรู้ข้อมูลรู้สึกตามมีอารมณ์ร่วมมีปฏิกิริยากับสิ่งที่เกิดขึ้นในการแสดง



ความหมายของบทละคร

“บทละคร” เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ประเภทบันเทิงคดี(fiction) ที่มุ่งแสดงถึงชีวิตมนุษย์ผ่านเรื่องราวของตัวละครโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเพลิดเพลินแก่ผู้ชมละครบทละครจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อได้นาไปจัดแสดงนั่นเอง



 แม้“บทละคร” คืองานเขียนที่เป็นเรื่องแต่งจาลองภาพชีวิตคล้ายกับนวนิยายและเรื่องสั้นแต่มีข้อแตกต่างที่บทละครมิได้เขียนขึ้นเพื่อการอ่านอย่างนวนิยายหรือเรื่องสั้นแต่เขียนขึ้นเพื่อการแสดงละครที่อาจเป็นละครเวที(แสดงสด) หรือละครโทรทัศน์(บันทึกภาพจากกระบวนการถ่ายทาการแสดง) ก็ได้ดังนั้นลักษณะของงานเขียนจึงมุ่งเน้นไปที่

ความสอดคล้องของการจัดองค์ประกอบของฉากเรื่องราวเหตุการณ์พฤติกรรมและบุคลิกภาพของตัวละครที่สามารถเล่าเรื่องผ่านการแสดงหรือภาพและเสียงได้อย่างแนบเนียนตามเจตนาของผู้เขียน

 บทละครเปรียบเสมือนหัวใจของการแสดงละครขณะที่องค์ประกอบด้านอื่นๆอาทิเสื้อผ้าฉากแสงเสียงรวมถึงการแสดงคือเครื่องประดับหรือรสชาติที่ช่วยเติมเต็มให้ละครเรื่องนั้นๆสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 บทละครเรื่องใดที่ผู้เขียนบทแต่งเรื่องขึ้นเองแล้วนามาเขียนเรียกได้ว่าเป็นการเขียนบทแบบดั้งเดิม(Original Play) ส่วนบทละครที่ผู้เขียนนาเนื้อหามาจากงานเขียนในรูปแบบอื่นๆเช่นนวนิยายเรื่องสั้นนิทานหรือตานานเรียกได้ว่าบทแบบดัดแปลง(Adapted Play)

คาแนะนาการเขียนบทละครโทรทัศน์

1. อ่านต้นเรื่องที่จะสร้างเป็นละครโทรทัศน์ให้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมดแล้ววิเคราะห์ต้นเรื่องตามองค์ประกอบของต้นเรื่องนั้นเช่นตัวละครฉากสถานที่/เวลาที่เกิดเหตุการณ์ตีความแนวคิดสาคัญของเรื่อง

2. พิจารณาต้นเรื่องเพื่อตัดแบ่งตอนเพื่อสะดวกในการถ่ายทาโดยต้องคานึงว่าเรื่องราวหนึ่งตอนต้องชวนติดตามมีจุดเด่นเนื้อหาต้องต่อเนื่องกันในแต่ละตอนเห็นความคืบหน้าของเรื่องและควนแสดงปมขัดแย้ง

3. ศึกษาเฉพาะตอนที่พิจารณาตัดแบ่งไว้เพื่อแบ่งเป็นฉากโดยพิจารณาต้นเรื่องที่ตัดแบ่งตอนไว้ว่าจะแบ่งเป็นฉากได้กี่ฉากจัดลาดับก่อนหลังซึ่งต้องพิจารณาว่ามีตัวละครกี่ตัวมีภาพเหตุการณ์ใดบ้างบทสนทนาของตัวละครเป็นอย่างไร

4.ศึกษาฉากแต่ละฉากศึกษารายละเอียดในแต่ละฉากตัวละครและบทสนทนา

5. เมื่อจะเขียนบทแต่ละฉากผู้เขียนต้องจินตนาการณ์ภาพเหตุการณ์ว่าจะเป็นลักษณะใดเริ่มจากจุดใดก่อนและหลังจะกาหนดให้ผู้บันทึกภาพบันทึกอย่างไร

6. นาข้อมูลข้างต้นประมวลและเขียนบทซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

ส่วนนาเรื่องระบุข้อมูลเบื้องต้นเช่นเขียนขึ้นจากนวนิยายเรื่องใดผู้แต่งเรื่องย่อข้อมูลตัวละคร

ส่วนเนื้อหาของบทละครระบุชื่อละครหมายเลขตอนชื่อตอนในแต่ละตอนระบุฉากลาดับฉากตัวละครลักษณะภาพเหตุการณ์บทสนทนาโดยต้องคานึงถึงความต่อเนื่องของเรื่องราวที่นาเสนอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น